Wednesday, July 24, 2013

ทุบตึกฟรี จริงหรือ?

ทุบตึกฟรี จริงหรือ?

หลายคนสงสัยกันนะครับว่า ทำไมมีบริการทุบตึกฟรี ทุบฟรีจริงหรือ ทำไม่เราไม่ต้องจ้างคนมาทุบตึกหรือรื้อถอนบ้าน แล้วคนที่มาบริการทุบตึกฟรี เค้าได้อะไรถึงมาทำงานให้เราฟรีๆ


จริงๆแล้วการทุบตึกหรือรื้อถอนอาคาร สำนักงานหรือบ้านพักอาศัยต่างๆ ได้ก่อสร้างด้วยวัสดุหลักที่เป็นเหล็กโครงสร้าง เหล็กเส้นซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลเป็นเหล็กใช้งานได้ใหม่ อีกทั้งยังมีวัสดุอีกหลายประเภทที่ใช้ในการตกแต่งอาคาร หรืองานหลังคาที่สามารถนำมาใช้งานได้ใหม่ ซึ่งผู้ที่ดำเนินงานรื้อถอนสามารถประเมินราคาค่าวัสดุต่างๆที่จะได้จากการรื้อถอนแล้วนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้

การรื้อถอนอาคารบางประเภทผู้รับเหมารื้อถอนอาจจะต้องจ่ายเงินซื้อเศษซากวัสดุ เนื่องจากลักษณะโครงสร้างมีมูลค่าสูงกว่าค่าจ้างการรื้อถอนมาก ดังนั้นเจ้าของอาคารอาจจะได้เงินแถมหรือมีการประมูลขายอาคารกันเลยทีเดียว

แต่ไม่ใช่อาคารทุกประเภทนะครับ งานรื้อถอนอาคารบางประเภท เจ้าของอาคารอาจจะต้องจ้างรื้อครับ เพราะลักษณะงานอาจจะยากมาก จนค่าใช้จ่ายการรื้อถอนมากกว่าเศษวัสดุที่จะได้ ดังนั้นหากต้องการติดต่อบริษัทที่รับรื้อถอน เราคงต้องตรวจสอบกับหลายๆที่ดูก่อน และที่สำคัญเราคงต้องให้วิศวกรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญงานทุบตึกรื้อถอนทำการประเมินและให้คำปรึกษาก่อนเสมอนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และให้เกิดผลกระทบกับเพื่อนบ้านหรือชุมชนให้น้อยที่สุดครับ

Monday, July 22, 2013

วิศวกรยุ่นเจ๋ง ทุบตึก เทรนด์ใหม่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

วิศวกรยุ่นเจ๋ง ทุบตึก เทรนด์ใหม่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน



บริษัทไทเซอิ ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาทุบตึกรื้อถอนอาคาร จากเมืองโยโกฮามา ประเทศญึ่ปุ่น คิดค้นวิธีการรื้อถอนแนวใหม่ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยงานทุบตึก ทำลายอาคารที่มีคาวมสูง40ชั้น ของโรงแรม Prince Akasaka ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียวที่มีผู้คนพลุกพล่าน เนื่องจากการรื้อถอนทำลายอาคารวิธีการระเบิด อาจเกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและอาคารโดยรอบ ทีมงานวิศวกรจึงได้คิดวิธีการทุบตึกทำลายแบบชั้นต่อชั้น จากภายในอาคารโดยอาศัยเครื่องจักรหนัก จำนวนมาก มาทำลายโครงสร้างแห่งนี้แทน

วิธีการจะเริ่มจากการสร้างระบบโครงค้ำยันและยึดเกาะไว้จากบนยอดตึกก่อนทุบตึกเพื่อป้องกันการเสียรูปและทำให้เกิดการเซออกทางด้านข้าง และทำการติดตั้งระบบไฮโดรลิค15ชุดตามจุดถ่ายน้ำหนักจากบริเวณชั้นล่าง เพื่อให้ในการลดระดับของชั้นอย่างช้าๆ จากนั้นก็นำรถทุบคอนกรีต 5คันใช้ทุบทำลายรื้อโครงสร้างพื้นและคานจากชั้นล่าง และทำการลำเลียงเศษวัสดุคอนกรีตหรือวัสดุประกอบอาคารออกทางชั้นล่างเรื่อยๆ โดยสามารถทุบทำลายพื้นสองชั้นในเวลาเพียง 3 ชั่้วโมงเท่านั้น

โดยบริษัทไทเซอิ ได้ศึกษาและวางแผนงานการทุบตึกรื้อถอนแนวใหม่นี้ นานถึง18เดือน ก่อนที่จะนำมาทดสอบกับอาคารหลังนี้ ซึ่งแนวคิดนี้จะช่วยให้การรื้อถอนทุบตึกอาคารใจกลางเมืองต่างมีความปลอดภัยและเกิดผลกระทบกับอาคารโดยรอบน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จะใช้เวลาในการทำงานถึง6-7เดือน ซึงนานกว่าการใช้วิธีทำลายแบบระเบิดอาคารซึ่งทำได้ในพริบตา แต่ก็ไม่เกิดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายมากและมีความปลอดภัยสูงกว่ามาก และเป็นวิธีการที่เป็นต้นแบบสำหรับงานรื้อถอนหรือทำลายอาคารเก่าในเมืองใหญ่ที่มีความแออัด และมีโครงสร้างอาคารที่ล้าสมัยซึ่งยากแก่การวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อทำการทำลายอาคารด้วยระเบิด


เทคนิคการทุบตึกและรื้อถอนอาคารอย่างปลอดภัย

เทคนิคการทุบตึกและรื้อถอนอาคารอย่างปลอดภัย

วิธีการรื้อถอนอาคารหรือทุบตึกอย่างปลอดภัย นับเป็นหัวใจสำคัญของขั้นตอนการทำงานการรื้อถอนอาคารหรือทุบตึก เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ที่ดำเนินงานที่เคยมีประสบการณ์การรื้อถอนหรือทุบตึกเท่านั้น ซึ่งวิธีการรื้อถอนอาคารอย่างปลอดภัย จะต้องมีการศึกษาและพิจารณาถึงพฤติกรรมอาคารเมื่อถูกรื้อถอนในแต่ละขั้นตอนโดยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงการดำเนินการประเมินและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับ สิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้างตลอดระยะเวลาการรื้อถอนและหลังจากการรื้อถอนแล้วเสร็จ ซึ่งจะขอกล่าวในบทความต่อไปนะครับ

สิ่งที่เป็นกระบวนการพื้นฐานที่พึงกระทำในการป้องกันผลกระทบขณะการทำงานรื้อถอนควรดำเนินการดังนี้
1. สร้างรั้วเป็นเขตการรื้อถอนหรือทุบตึกโดยรอบ และจัดทำทางเข้าออกของเครื่องจักรและรถบรรทุก
2. ติดป้ายโครงการและป้ายเตือนโดยรอบพื้นที่ เพื่อแสดงให้ชุมชนรอบข้างและบุคคลภายนอกทราบถึงเขตแนวการรื้อถอนให้ชัดเจน เพื่อให้ระมัดระวังเมื่อมีการสัญจรบริเวณใกล้แนวเขตรื้อถอน
3. จัดให้มีการคลุมอาคารในกรณีที่พื้นที่จำกัดและเพื่อป้องกันไม่ให้เศษวัสดุจากการรื้อถอนฟุ้งกระจายหรือตกกระเด็นออกไปกระทบพื้นที่ข้างเคียงให้มากที่สุด
4. มีการจัดการความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐานสากล เช่นการให้คนงานที่ทำงานรื้อถอนสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การวางมาตรการป้องกันอันตรายโดยทำการวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน (Job Safety Analysis) การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการยก การตัก การสกัด ทุบตึก รื้อถอนเช่น เครน รถแบคโฮ เป็นต้น
5. มีการลำดับงานรื้อถอนโดยละเอียด และกำหนดผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อมิให้เกิดความสับสนขณะปฏิบัติงานรื้อถอนอาคาร
6. มีการวางแผนการจัดการในเศษวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอน อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย เศษวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมก็ต้องดำเนินการกำจัดอย่างถูกต้อง เศษวัสดุฉนวนใยแก้ว เศษน้ำมันหล่อลื่น จะต้องส่งไปกำจัดโดยบริษัทที่รับกำจัดอย่างถูกกฎหมายเป็นต้น
7. ตรวจสอบและป้องกันความเสียหาย ของเส้นทางการลำเลียงเศษวัสดุที่จะนำไปทิ้งจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายให้กับชุมชนหรือเส้นทาง เช่นการล้างล้อรถก่อนออกนอกเขตรื้อถอน การคลุมผ้าใบรถเศษคอนกรีต หรือดินที่จะนำออกนอกเขตรื้อถอนเสมอ เป็นต้น
8. เลือกเวลาในการลำเลียงวัสดุออกนอกพื้นที่ ควรจะเลี่ยงเวลาที่มีรถสัญจรไปมามากๆ หรือช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ การจราจรหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน


ทั้งนี้กระบวนการต่างๆที่กล่าวมายัีงมีรายละเอียดปลีกย่อย และยังมีข้อควรระวังอีกหลายเรื่องซึ่งจะขอกล่าวในบทความต่อไป